สาวตัดพ้อชีวิต รู้สึกเสียใจที่เรียนจบตั้ง ป.เอก แต่กลับต้องตกงานมานาน 4 ปีแล้ว มิหนำซ้ำหนี้ยังท่วม 8.3 ล้าน (ตปท.)

ในขณะที่การเรียนต่อในระดับสูงเป็นเป้าหมายของใครหลาย ๆ คน แต่สำหรับหญิงอเมริกันรายหนึ่งที่ทุ่มเทเวลานับสิบปีในรั้วมหาวิทยาลัยเพื่อคว้าปริญญาเอกมาครอง กลับต้องรู้สึกว่าเส้นทางการศึกษาที่ผ่านมานั้น เป็นทั้งคำอวยพรและคำสาป เพราะแม้เธอจะเรียนสูงขนาดนี้ แต่กลับต้องตกที่นั่งลำบากในด้านการหางาน จนต้องอยู่ในสภาพกึ่งตกงานมานานถึง 4 ปี ได้แต่พึ่งงานพาร์ตไทม์เพื่อหาเลี้ยงชีพไปวัน ๆ

โดยเรื่องราวของหญิงรายนี้ ได้รับการเปิดเผยจากเว็บไซต์ต่างประเทศ Daily Mail และ Business Insider เมื่อหญิงวัย 38 ปี ซึ่งใช้นามแฝงว่า เอ. ราสเบอร์รี่ เล่าว่า หลังจากใช้เวลาไปมากมายกับการไขว่คว้าปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาบริหารจัดการธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเซนต์ลีโอ ในรัฐฟลอริดา แต่ตอนนี้เธอกลับรู้สีกเสียใจมาก เพราะไม่เพียงแค่ลำบากในการหางาน แต่ยังต้องแบกรับหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอีก 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 8.3 ล้านบาท

หลังจากเรียนจบปริญญาเอก ตั้งแต่ปี 2563 เธอได้ยื่นสมัครงานในตำแหน่งบริหารจัดการธุรกิจกับบริษัทต่าง ๆ แต่ก็ไม่สามารถหางานได้เลย แม้จะยอมขยายขอบเขตการหางานไปยังตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ทรัพยากรมนุษย์ บัญชี หรือแม้แต่งานติวเตอร์ แต่ส่วนใหญ่เธอแทบไม่ถูกเรียกเข้าไปสัมภาษณ์เลยด้วยซ้ำ หรือต่อให้ได้เข้าสัมภาษณ์งาน ก็ยังถูกปฏิเสธอยู่ดี เธอเฝ้าแต่หาคำตอบว่าตัวเองทำพลาดไปตรงไหน

สาวตัดพ้อชีวิต รู้สึกเสียใจที่เรียนจบตั้ง ป.เอก แต่กลับต้องตกงานมานาน 4 ปีแล้ว มิหนำซ้ำหนี้ยังท่วม 8.3 ล้าน (ตปท.)

แต่สุดท้ายก็ได้ข้อสรุปว่าอุปสรรคที่สำคัญที่สุดของเธอก็คือ การขาดประสบการณ์ในการทำงาน แม้ว่าตอนที่เธอเรียนอยู่ จะพอมีประสบการณ์ทำงานในบางตำแหน่งที่ธนาคาร ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และการบัญชี แต่เธอคิดว่าประสบการณ์เหล่านั้นอาจดูไม่เพียงพอในสายตานายจ้าง เธอมองว่าตัวเองนั้นมีคุณสมบัติมากเกินไป สำหรับตำแหน่งเริ่มต้นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังคงมีคุณสมบัติไม่พอสำหรับตำแหน่งบริหารหรือผู้นำ

เอ. ราสเบอร์รี่ ยอมรับว่า เป้าหมายดั้งเดิมของเธอคือการคว้าตำแหน่งศาสตราจารย์ ทำงานในแวดวงการศึกษา แต่เมื่อได้คุยกับคนในวงการจริง ๆ และรับรู้ว่าการเริ่มต้นในสาขานั้นยากแค่ไหน เธอก็ตัดสินใจเปลี่ยนแนวทางมาหางานตามบริษัทต่าง ๆ แทน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

สุดท้ายเพื่อที่จะให้มีเงินเลี้ยงปากท้อง เธอจำเป็นต้องไปทำงานพาร์ตไทม์หลาย ๆ อย่าง รวมถึงหันมาทำงานด้านการพยาบาลแทน เพื่อให้มีเงินพอสำหรับจ่ายค่าเช่า ค่าไฟ ค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น ในการอาศัยอยู่ที่รัฐ ซึ่งมีค่าครองชีพแพงเป็นอันดับที่ 13 ของสหรัฐฯ

สาวตัดพ้อชีวิต รู้สึกเสียใจที่เรียนจบตั้ง ป.เอก แต่กลับต้องตกงานมานาน 4 ปีแล้ว มิหนำซ้ำหนี้ยังท่วม 8.3 ล้าน (ตปท.)

ทั้งนี้ เธอได้ให้คำแนะนำแก่คนอื่น ๆ ว่า ควรเห็นคุณค่าของปริญญาตรีให้มากขึ้น และใช้มันเพื่อหางานก็เพียงพอแล้ว ซึ่งหากเธอได้เรียนรู้เรื่องที่องค์กรส่วนมากต้องการประสบการณ์มากกว่าการศึกษาตั้งแต่แรก ก็คงไม่ต้องเสียเวลาหลายปีในมหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่คนจากรุ่มมิลเลเนียนหลายคน จบลงด้วยการมีคุณสมบัติเกินตำแหน่งที่ต้องการสมัคร แต่ค่านิยมในกลุ่มคนเจน Z กลับเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีข้อมูลบ่งชี่ว่ามีคนเจน Z จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เลือกจะไม่เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา และหันไปหาความรู้ตามสถาบันอาชีพต่าง ๆ แทน โดยหวังจะได้รับงานที่มีค่าจ้างสูงขึ้น และไม่ต้องจมกับภาระหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

โดยคนรุ่นใหม่ที่เติบโตในช่วงยุคโควิด ยอมรับว่า พวกเขาถูกฉุดรั้งจากการเรียน 4 ปีในมหาวิทยาลัย ด้วยค่าเทอมที่สูง กับโอกาสที่จะต้องกู้ยืมเพื่อการศึกษา ในทางกลับกัน พวกเขาเลือกจะไปโรงเรียนอาชีวะแทนเพราะมีโอกาสจ้างงานสูงกว่า และมีงานที่น่าพอใจรออยู่ ซึ่งหลายคนมองว่า พวกเขาไม่แน่ใจว่าค่าใช้จ่ายในด้านการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่คุ้มแล้วหรือไม่

สาวตัดพ้อชีวิต รู้สึกเสียใจที่เรียนจบตั้ง ป.เอก แต่กลับต้องตกงานมานาน 4 ปีแล้ว มิหนำซ้ำหนี้ยังท่วม 8.3 ล้าน (ตปท.)

ข้อมูล Daily Mail , Business Insider

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *